
ข้าวเหนียวเป็นข้าวที่คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยม บริโภค วันนี้คุณบุญลือกระบือเต็มขั้นจะพาไปดูงานวิจัยข้าวเหนียวที่ปลูกคัดเลือก สายพันธุ์บริสุทธิ์เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งข้าวเหนียวที่กำลังได้รับความ นิยมทั้งในและต่่างประเทศได้แก่ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู 8974
ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู 8974 ที่ปลูกทดสอบในพื้นที่นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า
ข้าว เหนียวเขี้ยวงู 8974 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง พันธุ์พื้นเมืองได้จากการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์จากศูนย์ปฏิบัติการและเก็บ เกี่ยวเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติซึ่งได้ปลูกคัดเลือกเน้นลักษณะพันธุ์ที่ มีขนาดเล็ก เมล็ดเล็กและเรียวยาว ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคข้าวเหนียวมูน
คุณพายัพภูเบศวร์ มากกูล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ บอกครับว่า การวิจัยเริ่มดำเนินการระหว่างปี 2548-2558 โดยปลูกคัดเลือกสายพันธุ์ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน
คุณพายัพภูเบศวร์ ยังบอกอีกครับว่า ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ที่มีลักษณะเมล็ดเล็ก เรียวยาว และเรียงตัวสวยงาม เมื่อนึ่งแล้วข้าวสุกมีสีขาว การเกาะตัวเหนียวแต่ไม่เละ ผิวมีความเลื่อมมันค่อนข้างมาก เนื้อสัมผัสนุ่นและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ที่สำคัญมีสารต้านอนุมูลอิสระในรูปวิตามินอีสูงกว่าพันธุ์ กข6
สำหรับการปลูกคัดเลือกแบบหมู่และสายพันธุ์บริสุทธิ์ จะมีทั้งหมด 3 วิธี คือ วิธีหว่านน้ำต้ม ปักดำ และโยนกล้า โดยเอาหลักพอเพียงเข้ามาจัดการระบบการผลิต เน้นใช้วัตถุดิบในชุมชน และลดการใช้สารเคมี เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างแปลงในสถานีกับแปลงนาเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ปัจจุบันงานวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงศึกษา การปลูกทั้ง 3 รูปแบบ เแต่คาดว่าผลผลิตจะสูงกว่าการทดสอบในปี 56-57 ซึ่งพบว่าข้าวเหนียวเขี้ยวงู ปลูกด้วยวิธีการหว่านได้ผลผลิตเฉลี่ย 573 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีปักดำ ผลผลิตเฉลี่ย 620 กิโลกรัมต่อไร่
อนาคตเปิด AEC ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเราคงจะไม่น้อยหน้าข้าวหอมมะลิอย่างแน่นอนครับคุณผู้ชม
ติดต่อสอบถามศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0-5372-1578
อภิวัฒน์ คำสิงห์ เรื่อง/ภาพ
ที่มา มติชนออนไลน์